ตัวดำเนินการ
กลุ่มบล็อก Operators มีบล็อกคำสั่งที่เป็นตัวดำเนินการต่างๆ ทั้งด้านคำนวณ เปรียบเทียบและตรรกะ สำหรับใช้ร่วมกับบล็อกคำสั่งที่มีการกำหนดเงื่อนไข
ในการคำนวณใดๆ จะต้องมีการระบุตัวดำเนินการ (Operator) เพื่อสั่งให้คำนวณ เปรียบเทียบ |
ในการคำนวณใดๆ จะต้องมีการระบุตัวดำเนินการ (Operator) เพื่อสั่งให้คำนวณ เปรียบเทียบ ในโปรแกรม Scratch มีกลุ่มบล็อก Operators ให้ใช้งาน ซึ่งประกอบด้วยบล็อกที่ใช้ในการคำนวณพื้นฐาน การเปรียบเทียบ ตรรกะ และฟังก์ชันในการทำงานต่างๆ ในบล็อก Operators จะมีโครงสร้างที่ประกอบไปด้วย ช่องกำหนดค่า ตัวดำเนินการหรือคำสั่ง ซึ่งช่องกำหนดค่า สามารถใส่ตัวเลข อักขระ หรือลากบล็อกอื่นๆ มาวางบนบล็อกก็ได้ โดยช่องกำหนดค่ามีดังนี้ |
|
ช่องสี่เหลี่ยมมุมนรับค่าเป็นตัวเลขและรับบล็อกสี่เหลี่ยมมุมมน |
![]() |
ช่องหกเหลี่ยมรับได้เฉพาะข้อมูลที่เป็นจริงหรือเท็จจากบล็อกหกเหลี่ยมเท่านั้น |
![]() |
ช่องสี่เหลี่ยมรับข้อมูลที่เป็นอักขระ ซึ่งถ้าใส่ตัวเลขในช่องนี้จะถือว่าตัวเลขนั้นเป็นอักขระ นอกจากนี้ยังรับบล็อกสี่เหลี่ยมมุมมนและบล็อกหกเหลี่ยมได้ด้วย |
1. บล็อก Operators คำนวณพื้นฐาน |
ภายในบล็อก Operators คำนวณพื้นฐาน มีตัวดำเนินการต่างๆ ที่ใช้ในการคำนวณ เช่น บวก ลบ คุณ หาร มอดูลัล ตัวอย่างการใช้งาน เช่น |
บล็อก | ความหมาย | ตัวอย่างการใช้งาน | ผลลัพธ์ |
![]() |
บวก | ![]() |
9 |
![]() |
ลบ | ![]() |
5 |
![]() |
คูณ | ![]() |
14 |
![]() |
หาร | ![]() |
3.5 |
![]() |
มอดูลัส | ![]() |
1 |
หมายเหตุ มอดูลัส คือ การหาเศษที่เหลือที่น้อยที่สุดจากการหารและไม่ใช่จำนวนลบ เช่น 5 mod 2 (5 หาร 2 = 2 เหลือเศษ 1 ) ผลลัพธ์ที่ได้ คือ 1 |
ในกรณีที่ต้องการใช้ตัวดำเนินการมากกว่าหนึ่งตัว สามารถทำได้โดยนำบล็อกที่ต้องการมาวางไว้บนบล็อก Operators ดังตัวอย่างต่อไปนี้ |
ตัวอย่างที่ 1 1+(2*3) ลำดับการคำนวณคือ |
1) คำนวณค่าในวงเล็บก่อน โดยนำ 2 มาคุณกับ 3 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 6 |
2) นำผลลัพธ์ที่ได้ข้อ 1) มาบวกกับ 1 จะได้ 6+1 = 7 |
ในโปรแกรม Scratch สามารถทำได้ดังนี้ |
1) ลากบล็อกบวกมาวาง |
![]() |
2) พิมพ์เลข 1 ลงในช่องกำหนดค่าด้านซ้าย | ![]() |
3) ลากบล็อกคูรซ้อนอยู่ในบล็อกบวก | ![]() |
4) จะได้บล็อกคูณซ้อนอยู่ในบล็อกบวก | ![]() |
5) พิมพ์เลข 2 และ 3 ลงในช่องกำหนดค่าของบล็อกคูณ | ![]() |
หมายเหตุ การคำนวณค่าในบล็อกจะคำนวณในบล็อกนั้นๆ ก่อน เหมือนกับการคำนวณในวงเล็บก่อน แล้วจึงคำนวณส่วนที่เหลือภายหลัง เช่น (3*5)-(4/2) = 15-2 = 13 |
ตัวอย่างที่ 2 (3*5)-(4/2) สามารถกำหนดในโปรแกรม Scratch ได้ดังนี้ |
1) ลากบล็อกลบมาวาง | ![]() |
2) ลากบล็อกคูณมาวางในช่องกำหนดค่าด้านซ้ายของบล็อกลบจะได้บล็อกคูณซ้อน อยู่ในบล็อกลบ |
![]() |
3) พิมพ์เลข 3 และ 5 ลงในช่องกำหนดค่า ตามลำดับ | ![]() |
4) ลากบล็อกหาร มาวาในช่องกำหนดค่าด้านขวาของบล็อกลบ จะได้บล็อกหารซ้อน อยู่ในบล็อกลบ |
![]() |
5) พิมพ์ 4 และ 2 ลงในช่องกำหนดค่าตามลำดับ | ![]() |
2. บล็อก Operators เปรียบเทียบ |
การใช้บล็อก Operators เปรียบเทียบ สามารถใส่ค่าหรือลากบล็อกที่ต้องการเปรียบเทียบลงในช่องกำหนดค่า ผลลัพธ์จากการใช้ตัวดำเนินการเปรียบเทียบจะได้ค่าเป็นจริงหรือเท็จ ตัวอย่าง เช่น |
บล็อก | ความหมาย | ตัวอย่างการใช้งาน | ผลลัพธ์ |
![]() |
น้อยกว่า | ![]() |
เท็จ |
![]() |
มากกว่า | ![]() |
จริง |
![]() |
เท่ากัน | ![]() |
เท็จ |
3. บล็อก Operators ฟังก์ชัน |
บล็อก Operators ฟังก์ชัน มีบล็อกที่จัดการตัวอักษรและข้อความ และบล็อกที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่าง เช่น |
บล็อก | ความหมาย | ตัวอย่างการใช้งาน | ผลลัพธ์ |
![]() |
เชื่อมข้อความในช่อง กำหนดค่าที่ 1 และ 2 |
![]() |
Hello Joy |
![]() |
เลือกอักขระในลำดับที่ ระบุจากค่าที่กำหนด |
![]() |
m |
![]() |
นับจำนวน อัขระ | ![]() |
8 |
![]() |
ปัดเศษ | ![]() |
6 |
![]() |
4 | ||
![]() |
สุ่มตัวเลข | ![]() |
ตัวเลขที่สุ่มได้มีค่า ตั้งแต่ 1 ถึง 10 |
![]() |
ฟังก์ชันทาง คณิตศาสตร์ |
เช่น ![]() |
รากที่สองของ 25 คือ 5 |
เรามาทำใบงานกันเถอะ