สนุกกับเสียง

     การเพิ่มเสียงลงในชิ้นงานจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับชิ้นงานนั้นๆ เช่น เพิ่มเสียงให้ตัวละคร  ขณะเคลื่อนไหว เพิ่มเสียงเมื่อเปลี่ยนฉาก การเพิ่มเสียงทำได้โดยแทรกไฟล์เสียงซึ่งมีส่วนขยายเป็น .wav หรือ .mp3 ที่โปรแกรมมีมาให้ หรือดาวน์โหลดจากแหล่งอื่นที่ไม่ผิดลิขสิทธิ์หรือสร้างขึ้นเองจากเครื่องมือบันทึกเสียง (Sound Recorder) จากนั้นเขียนสคริปต์ โดยใช้บล็อก Play sound ในกลุ่มบล็อก Sound  เพื่อเล่นเสียงดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีบล็อกที่สามารถกำหนดเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ได้ซึ่งสามารถนำมาสร้างสรรค์เป็นเพลงในจังหวะต่างๆ ตามความสนใจ
      โครงสร้างของคีย์บอร์ดในเปียโนจะแบ่งเป็นกลุ่มคีย์ออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มประกอบด้วยกลุ่มที่มีคีย์สีขาว 7 ตัว (C-โด D-เร E-มี F-ฟา G-ซอล A-ลา B-ที) และคีย์สีดำ 5 ตัว (C#, Eb,F#,G#,Bb) เสียงดนตรีในกลุ่มคีย์สีขาวทั้ง 7 เสียงนั้น ถือเป็นระดับเสียงตามธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งระดับเสียงจะห่างกัน 1 เสียงเต็ม ส่วนเสียงดนตรีในกลุ่มคีย์สีดำไม่ใช่เสียงเต็มแบบธรรมชาติ จึงต้องมีการสร้างสัญลักษณ์เพื่อทำให้โน๊ตนั้นมีระดับเสียงสูงขึ้นหรือต่ำลงครึ่งเสียงและสัญลักษณ์ดังกล่าวก็คือ เครื่องหมายชาร์ฟ (#) และแฟล็ท (b)
       ในโปรแกรม Scratch ใช้บล็อก play note ระบุตัวเลขเพื่อแทนระดับเสียงดนตรี ดังตัวอย่างในตาราง
 
 ตารางแสดงเสียงดนตรีในกลุ่มคีย์สีขาวกับค่าตัวเลขในบล็อก play note
ระบบซอล-ฟา ระบบตัวอักษร ค่าตัวเลขในบล็อก play note
โด(ต่ำ) C 48
เร(ต่ำ) D 50
มี(ต่ำ) D 52
ฟา(ต่ำ) F 53
ซอล(ต่ำ) G 55
ลา(ต่ำ) A 57
ที(ต่ำ) B 59
โด C 60
เร D 62
มี E 64
ฟา F 65
ซอล G 67
ลา A 69
ที B 71
โด(สูง) C 72
     เครื่องหมาย ชาร์ฟ (Sharp: #) เมื่อปรากฎที่โน๊ตตัวใดจะทำให้โน๊ตนั้นมีระดับเสียงสูงขึ้นครึ่งเสียง เช่น C# อ่านว่า ซี-ชาร์ฟ จะมีระดับเสียงสูงกว่า C (โด) อยู่ครึ่งเสียง ซึ่งใน Scratch จะเป็นการเพิ่มค่าตัวเลข 1 ค่า ตัวอย่าง เช่น C มีค่าตัวเลขในบล็อก play note เป็น 48 C# จะมีค่าเป็น 49
      เครื่องหมาย แฟล็ท (Flat: b) ตรงกันข้ามกับ # เมื่อปรากฎที่โน๊ตตัวใด จะทำให้โน๊ตนั้นมีระดับเสียงต่ำลงครึ่งเสียง เช่น Eb อ่านว่า อี-แฟล็ท จะมีระดับเสียงต่ำกว่า E (มี) อยู่ครึ่งเสียง ซึ่งใน Scratch จะเป็นการเพิ่มค่าตัวเลข 1 ค่า ตัวอย่างเช่น E มีค่าตัวเลขในบล็อก play note เป็น 52 Eb จะมีค่าเป็น 51
       กรณีที่ต้องการโน๊ตที่มีค่าสูงหรือต่ำกว่าค่าในตาราง สามารถกรอกตัวเลขในบล็อก play note ให้มีค่าสูงต่ำกว่านั้นได้ตามต้องการ



วิดีโอตัวอย่าง เล่นกับเสียง



วิดีโอตัวอย่าง ดนตรีจินตนาการ

 

เรามาทำใบงานกันเถอะ

Visitors: 70,274